ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญาที่พระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักคิดและหลัก ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต ในครอบครัว ในโรงเรียน ในประเทศ โดยตั้งสมมุติ-ฐาน ที่ว่าทุกสิ่งอนิจจัง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาจากนอกประเทศ กับในประเทศ นอกโรงเรียนกับในโรงเรียน นอกครอบครัวกับในครอบครัว
แล้วทรงชี้ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบ 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และทางวัฒนธรรม ผลกระทบทางวัตถุ อาจจะหมายถึงทางเศรษฐกิจทางการเงินก็ได้ ส่วนผลกระทบ ทางสังคม ให้นึกถึงความเข้มแข็งของโรงเรียนของท่าน ที่ไม่มีเด็กติดยาเสพติด เลย หมายถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ สังคมของโรงเรียนเข้มแข็ง หรือพูดถึงครอบ ครัวครูที่ไม่มีหนี้เลย ก็หมายถึงว่าสังคมครอบครัวเข้มแข็ง ส่วนผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมที่ชัดเจนคือเรื่องความสะอาด ความมีวินัย เช่น การรักษาต้นไม้ การปลูก ต้นไม้ให้เด็กได้ร่มในโรงเรียน ห้องส้วมสะอาด ขณะที่ผลกระทบทางวัฒนธรรม คือ วัฒนธรรมจากนอกประเทศที่จะเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทย จึงต้องรักษา วัฒนธรรมของเราให้เข้มแข็ง
คุณธรรม รากเศรษฐกิจพอเพียง
ภูมิคุ้มกันในตัวเราที่ดีก็คือ empowerment คือ ทำให้เข้มแข็ง เข้มแข็งทางการเงิน ก็คือว่า ครอบครัวต้องมีเงินออมไม่ใช่มีหนี้ ถ้ามีหนี้ก็คือ เป็นเรื่องของ ความอ่อนแอ แต่ถ้ามีเงินออมมากก็เป็นเรื่องของความเข้มแข็ง โดยมีเงื่อนไข สำคัญคือเรื่องคุณธรรม เพราะการที่คนขี้โกง เอาเงินไปใช้แล้วก็ประสบความสุข ความร่ำรวย ซึ่งผิดกับหลักการดังกล่าว เพราะผิดเงื่อนไข คือ เรื่องคุณธรรม โรงเรียนไหนจะเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ จะต้องไปสร้างคุณธรรมใน โรงเรียนก่อน ตั้งแต่ผู้อำนวยการลงไปถึงภารโรง เด็กทุกคน ครูทุกคน ต้องมี คุณธรรม
โรงเรียนต้องพร้อมทำงาน หนัก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงต้อง การให้เราจนอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ใช่ให้เราปิดประเทศ แต่มีคนเข้าใจผิดเยอะ มาก เพราะความจริงแล้วเป็นแนวทางปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทุกระดับ โดยยึด ทางสายกลางให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ไม่ได้บอกว่าให้เราเอาปรัชญานี้ไป ใช้แล้วก็ หงอย จ๋อย อยู่นั่น ตรงกันข้ามต้องกระตือรือร้น ต้องทำงานหนัก ถ้าจะ เอาปรัชญานี้ไปใช้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า โรงเรียนของท่านพร้อมจะทำงานหนัก หรือไม่
3 องค์ประกอบ บันไดสู่เป้าหมาย
องค์ประกอบของความ พอเพียงมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความพอประมาณไม่สุดโต่ง จะลง ทุน จะซื้อของ ต้องพอประมาณ
2. ต้องมีเหตุผลอธิบายได้
3. ต้องสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงทั้งภายนอกภายใน
เรามีเงินงบประมาณอยู่ก้อนหนึ่ง เรา ต้องการจะทำห้องแล็บ คอมพิวเตอร์ จะลงทุนเท่าไหร่ดี คำถามแรกคือ มีเหตุผล ไหมที่จะต้องทำคอมพิวเตอร์ใหม่ ถ้ามีก็โอเค แล้วเราจะใช้งบประมาณสักเท่าไหร่ ถึงจะพอประมาณ และจะเหลืออีกเท่าไหร่ ส่วนความพอประมาณ ก็คือความพอดี พอเหมาะต่อความจำเป็น พอควรแก่อัตภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมี พระราชดำรัสว่า พอเพียงของฉันคือพอควรแก่อัตภาพ ถ้าเขาเป็นเศรษฐีแสน ล้าน เขาจะซื้อกระเป๋าถือ 30,000 บาท เรื่องของเขา แต่เรามีเงิน 12,000 บาท แล้วเราจะไปซื้อกระเป๋า 3,000 บาท อันนี้ไม่พอควรแก่อัตภาพ แล้ว
สร้างภูมิคุ้มกันให้โรงเรียน
ระบบภูมิคุ้มกันทางด้านวัตถุ ด้านธุรกิจ ฐานะการเงิน ภูมิคุ้มกันด้านสังคมครอบครัวเข้มแข็ง โรงเรียนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง หมายความว่าภูมิคุ้มกันเราดี ใครจะเอายาเสพติดมาขาย หน้า โรงเรียน นักเรียนเราก็ไม่รับ เพราะว่าเราสร้างภูมิคุ้มกันสังคมตรงนี้ไว้ดีมาก เรา สร้างสำนึกไว้ดีมากให้แก่นักเรียนทุกคนตลอดเวลา
อันนี้คือภูมิคุ้มกัน ต่ออบายมุขทั้งหลาย ภูมิคุ้มกันต่อเหตุร้ายทั้งหลาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของอบายมุข มีความรักสามัคคีกันในโรงเรียน เกื้อกูลกัน ภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมก็เหมือนกัน คือ มีความรู้วิชาการด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสตรีภูเก็ต เป็นตัวอย่างของการนำ เอาพฤกษศาสตร์เข้าไปในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นการสร้างภูมิ คุ้มกัน หรือความเข้มแข็งทางด้านสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาถ่ายทอดทางด้านวิชาการ ได้
ผอ.โรงเรียนต้องดูแลตั้งแต่ห้องน้ำ
เรื่องสิ่งแวดล้อมโรงเรียน อยาก ฝากไว้ 2 เรื่อง คือ
1. เรื่องความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม โรงเรียน ในอดีตเคยมีข่าวเรื่องกำแพงพังทับนักเรียนตาย บาง โรงเรียนเลี้ยงจระเข้ไว้แล้วผู้ปกครองไปฟ้องศาลก็มีมาแล้ว เราต้องนึกถึงเรื่อง ความปลอดภัยในโรงเรียนก่อน
2. เรื่องความสะอาด และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม คนเป็น ผอ.โรงเรียน มีหน้าที่ต้องเดิน ดูโรงเรียนอย่างน้อยวันละ 2 รอบ ดูห้องน้ำ ดูรั้วโรงเรียนตรงไหนมันหัก มันพัง มัน ผุ ต้นไม้ต้นไหนจะหักมาทับนักเรียนหรือไม่ รวมถึงความปลอดภัยในส่วนของบ่อ น้ำ สระน้ำ เพราะเด็กไทยจมน้ำตายเป็นหนึ่งใน 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก ไทยในทุกปี ขณะที่ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ทุกโรงเรียนมีหน้าที่สำคัญต่อประเทศ ชาติอย่างมาก จะต้องทำให้เด็กทุกรุ่นศรัทธาและมั่นคงในวัฒนธรรมไทย ในขณะ เดียวกันต้องเข้าใจและเป็นมิตรต่อวัฒนธรรมอื่น เพื่อความเป็นไทย และความเป็น คนไทยจะได้ยั่งยืน
3 เงื่อนไขหัวใจหลัก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชดำรัสถึง แนวทางการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ผลดี ว่ามี 3 เงื่อนไข คือ
1. หลักวิชา โดย พระองค์ท่านจะทำอะไร ทรงอาศัยหลักวิชาเสมอ ไม่ได้ทำตามอารมณ์ ไม่ได้ทำ ตามกระแส ไม่ได้ตัดสินใจตามผลประโยชน์ของใคร แต่ใช้หลักวิชาเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน การทำอะไรจะต้องทำวิจัยให้แน่ก่อน ก่อนที่จะเผยแพร่ ให้ราชการนำไปเผยแพร่ต่อ แต่ของประเทศเราไม่ จะทำอะไรทุกจังหวัดทำเหมือน กัน 40,000 โรงเรียนทำเหมือนกันซึ่งไม่ใช่
2. เงื่อนไข คุณธรรม ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต 3. เงื่อนไขในการดำเนินชีวิต ต้องรอบรู้ ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน เรื่อง ความเพียร
ยูเอ็น แจกเศรษฐกิจพอ เพียง 135 ประเทศ
ส่วนผลที่คาดว่าจะได้รับ จากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1. ให้เกิดความสมดุล รองรับการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชา ชาติ (ยูเอ็น) เห็นประโยชน์แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมหาศาล ซึ่งองค์การ สหประชาชาติจะนำไปเผยแพร่ทั่วโลก ผ่านองค์กร ยูเอ็นดีพี เอเชียแปซิฟิก สำหรับปี 2550 จะมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายให้ต่างประเทศให้ เข้าใจให้ได้ พร้อมทั้งมีการพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทยเผยแพร่ในประเทศ ไทย ให้พวกเราที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจ ส่วนภาษาอังกฤษ จะนำไปเผยแพร่ใน 135 ประเทศ เพื่อใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปลดผลกระทบอย่างรุนแรง ของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำลายอะไรต่ออะไรทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
สร้างเด็กเน้นดี-เก่ง
สำหรับผลข้อ 2. การระเบิดจาก ข้างใน คือ เวลาจะไปพัฒนาท้องถิ่นไหน ต้องทำให้ประชาชนที่นั่นเก่ง ไม่ใช่เอา ความเจริญจากข้างนอกไปพอก ในโรงเรียนก็เช่นกัน สิ่งที่เราจะทำให้เปิดจากภาย ใน คือ ทำให้นักเรียนทุกคนเป็นเทวดาให้ได้ คือทำให้เป็นคนดี คนเก่ง การจะไป พัฒนาโรงเรียน แต่เด็กจน ไม่มีอาหารกลางวันกิน เด็กจะเรียนได้อย่างไร ถามว่า เด็กที่หิวมากๆ จะเรียนรู้ เรื่องหรือ เพราะฉะนั้นถ้าจะพัฒนาโรงเรียนต้องถามก่อน ว่าเด็กสุขภาพเป็นอย่างไร การกิน การอยู่ พอไหม มีความทุกข์หรือเปล่า การจะ พัฒนาอะไรต้องเริ่มต้นจากสิ่งจำเป็นที่สุดของประชาชนเข้ามาก่อน ได้แก่ สุขภาพ สาธารณสุข จากนั้นจึงเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน สิ่งจำเป็นในการประกอบ อาชีพตามมา
รู้-รัก-สามัคคี
วิธีทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว คือ ทำให้ง่าย อย่าทำให้ซับซ้อน มี นักบริหารบางคนทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่มีนักบริหารหลายคน ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก คนบางคน มองทุกปัญหามีทางออก แต่ก็มีบางคน มองทุกทางออกมีปัญหา ไม่ติดตำรา ใช้อธรรม ปราบอธรรม ปลูกป่าในใจคนก่อน และต้องมุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
การมีส่วนร่วม ขาดทุนคือกำไร การบริหารรวมที่จุดเดียว ทรงมีพระราช ดำริให้บริหารเป็นการบริการด้วยและบริหารที่จุดเดียว บริการที่จุดเดียว บริหาร แบบเบ็ดเสร็จ ทั้ง 2 ระดับทั้งระดับบริหาร และระดับบริการ
สุดท้ายคือ รู้ รักสามัคคี ส่วนมากเราจะพิมพ์ติดกัน 3 ตัว แต่ความจริงความหมายมันแยกกัน คือ
รู้- การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น เรา ต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
รัก- เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรัก
การพิจารณาที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหานั้นๆ ต้องเกิดฉันทะในนั้น พอรู้หมด รู้วิธีแก้ปัญหาแล้วท้อ ฝืนทำก็ไม่ได้งาน แต่เมื่อรู้ปัญหาแล้ว ต้องสร้าง ฉันทะ สามัคคี-หลังจากนั้น แล้วพอจะลงมือทำ
การลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องทำร่วมกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลัง จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ ด้วยดี.
|